หน้าแรก / บอร์ดสุขภาพ

3 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายและผู้หญิง

3 มะเร็งที่พบบ่อย

            โรคมะเร็งนับเป็นโรคที่ครองแชมป์อัตราการเสียชีวิตมานาน จากข้อมูลสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณะสุขบ่งชี้อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งในประเทศไทยว่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะพฤติกรรมต่างๆ ที่คอยทำร้ายสุขภาพทั้งแบบรู้ตัว และแบบไม่รู้ตัว เช่น

            - การสูบบุหรี่

            - ดื่มแอลกอฮอล์

            - อ้วนลงพุง

            - รับประทานอาหารเกินความจำเป็น

            - ไม่ออกกำลังกาย

            - เครียด และนอนดึก

            ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งต่างๆ ซึ่งมีหลายประเภทแต่โรคมะเร็งที่มีอัตราการพบและอัตราการเสียชีวิตในประเทศไทยนั้น ขอแยกออกเป็นมะเร็งที่พบในเพศชาย และเพศหญิง โดยขอยกมา 3 อันดับที่พบมากที่สุดดังนี้

 

3อันดับ  โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย

            1.มะเร็งตับ

              เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็ง หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับ

              อาการของโรคมะเร็งตับมักไม่ชัดเจนและไม่แสดงอาการให้เห็น โดยระยะเริ่มต้นจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร เป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยอาจรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งตับได้เมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ แต่เมื่อเริ่มมีการแสดงอาการ มะเร็งจะเป็นในระยะแพร่กระจายหรือระยะที่มีความรุนแรงของโรคแล้ว (advanced stage) ซึ่งอาการที่แสดงนั้นได้แก่

              - ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบน ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ท้องบวมขึ้น

              - น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่รับประทานตามปกติ

              - เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร

              - รู้สึกอ่อนเพลีย

-  มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

              - คลำพบก้อนที่บริเวณตับ

              - ตัวเหลืองและตาเหลือง

              สาเหตุการเกิดมะเร็งที่ตับเกิดจากการที่ดีเอ็นเอในเซลล์ตับเกิดกลายพันธุ์จนทำให้โครงสร้างเซลล์เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เซลล์เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติและพัฒนาเป็นเนื้องอกในที่สุด สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ดังนี้

              - อัตราการพบมะเร็งตับในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง

              - ผู้ป่วยเป็นโรคชนิดอื่นที่สัมพันธ์หรือสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับ ได้แก่

                             - โรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ที่สร้างความเสียหายต่อตับอย่าง

                                ถาวรและทำให้ตับวายได้

                             - โรคตับแข็ง กว่าครึ่งของผู้ป่วยมะเร็งตับเป็นโรคตับแข็งร่วมด้วย

                             - โรคเบาหวาน

                             - มะเร็งตับอาจสัมพันธ์กับโรคอ้วน และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุราได้ด้วย

                             - โรคตับที่สืบทอดทางพันธุกรรมที่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่ ภาวะธาตุเหล็กในตับมากเกินไป ภาวะทองแดง

                                คั่งในร่างกาย

              - การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากเป็นเวลาติดต่อหลายวันจะก่อให้

                 เกิดอันตรายต่อตับอย่างต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง

              - การสูบบุหรี่ ผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบอยู่แล้วและมีพฤติกรรมสูบุหรี่จะยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งตับยิ่งขึ้น

              - การได้รับสารเคมีอันตรายจากยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิล คลอไรด์ (Vinyl Chloride) และสารหนู(Arsenic)

                ที่อาจพบได้จากบ่อน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เมื่อได้รับเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมจนเกิดโรคต่างๆ

                 ตามมามากมาย ไม่เว้นแม้แต่มะเร็งตับ

              - การใช้อนาโบลิคเสตียรอยด์ (Anabolic steroids) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่นักกีฬามักใช้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ หาก

                 ใช้เป็นเวลานานจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วย

 

  1. มะเร็งลำไส้ใหญ่

              มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เซลล์มีการแบ่งตัวแบบเพิ่มจำนวนจนควบคุมไม่ได้ ส่งผลให้กลายเป็นเนื้องอก และใช้ระยะเวลาบ่มเพาะตัวเองนานหลายปีจนกลายเป็นเนื้อร้าย เป็นมะเร็งที่สามารถลุกลามแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่ายที่สุด

              บ่อยครั้งอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจไปคล้ายกันกับโรคอื่นๆ หรืออาจไม่ได้แสดงอาการมากนัก ทำให้เราไม่ได้ทันระวังตัว จนเป็นเหตุให้จากเนื้องอกธรรมดาๆ กลายเป็นเนื้อร้ายที่ยากต่อการรักษา ดังนั้น เราจึงควรตั้งข้อสงสัยและหมั่นสังเกตอาการให้ดี โดยหากมีอาการบ่งชี้เหล่านี้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที

            - ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืดบ่อยๆ

              - อุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก

              - น้ำหนักลดลงอย่างผิดสังเกต ทั้งๆ ที่รับประทานตามปกติ ไม่ได้ควบคุมหรือลดปริมาณลง

              - ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง

              - อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง เบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย

              - ภาวะโลหิตจาง

 

              สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นได้หลายปัจจัยดังนี้

              - การกลายพันธุ์ของยีน ยีนที่เกิดการกลายพันธุ์จะไม่สามารถควบคุมการทำงานของเซลล์จนเติบโตกลายเป็นเซลล์

                 มะเร็งลุกลามไปยังเซลล์ข้างเคียงก่อนจะก่อตัวเป็นเนื้อร้ายได้ ซึ่งยีนอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และจะถ่ายทอด

                 ลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมการทำงานเซลล์ต่างๆ จากรุ่นไปสู่อีกรุ่น

              - การรับประทานอาหาร รูปแบบการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเป็นอาหาร

                 ประเภทไขมันสูงและมีกากใยอาหารต่ำ โดยพบว่าผู้ที่มีการกินอาหารลักษณะนี้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

              - สาเหตุอื่น อาจถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

                                           - พันธุกรรม

                                           - ผู้สูงอายุ

                                           - โรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่

                                           - ไม่ออกกำลังกาย

                                           - การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

                                           - โรคอ้วน โรคเบาหวาน

 

  1. มะเร็งต่อมลูกหมาก

              เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในเพศชาย โดยมักจะเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ บริเวณต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีลักษณะคล้านลูกเกาลัดเล็กๆ ทำหน้าที่ผลิตน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงและลำเลียงอสุจิ มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรกจะไม่แสดงอาการจนกว่าเนื้องอกจะไปทำให้ต่อมลูกหมากใหญ่โตขึ้นหรือเมื่อมะเร็งลุกลามไปเกินกว่าบริเวณต่อมลูกหมาก เซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตขึ้นจนเกิดแรงกดทับต่อท่อปัสสาวะ เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลุกหมากมักมีปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะดังนี้

            - ปัสสาวะนาน ปัสสาวะขัด ลำของปัสสาวะอ่อนแรง หรือปัสสาวะเป็นหยดๆ

              - ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติโดยเฉพาะตอนกลางคืน

              - รู้สึกเจ็บปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ

              - บางรายที่อาการรุนแรงอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ

อาการอื่น ๆ ของมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่เป็นมากยังอาจมีดังนี้

              - น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

              - คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนล้า

              - มีอาการบวมที่ร่างกายส่วนล่างลงไป

              สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น เกิดจากเซลล์ในต่อมลูกหมากที่ผิดปกติและมีการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ จนเซลล์เติบโตและขยายขึ้นรวดเร็วกว่าปกติ ทำให้ลุกลายทำลายเซลล์ที่ปกติในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่เซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้จะมีชีวิตต่อไป และก่อให้เกิดเนื้องอกที่สามารถลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง ทั้งยังอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย มะเร็งต่อมลูกหมากยังอาจเกิดได้จากปัจจัยอื่นๆ โดยบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค ได้แก่

              - ผู้สูงอายุ

              - มีบุคคลในครอบครัวที่เคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

              - ผู้ป่วยโรคอ้วน

 

 

3อันดับ  โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง

  1. มะเร็งเต้านม

              เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านมเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งและขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะลุกลามไปสู่เนื้อเยื้อข้างเคียงและแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นของร่างกาย มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก

              มะเร็งเต้านมในระยะแรกแทบไม่แสดงอาการใดๆ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้มากที่สุด อาการอื่นๆ อาจสังเกตได้จาก

              - มีก้อนหนาๆ เต้านมหรือใต้แขน

              - หัวนมบุ๋ม ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนไปจากเดิม

              - เป็นแผล

              - อาการปวดบริเวณเต้านม

              - มีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือดไหลออกมา

              - เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม

              ยังไม่พบสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมที่แน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิง ทั้งจากสภาพแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุที่มากขึ้น ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีช่วงระยะของการมีประจำเดือนนาน และอีกหลายปัจจัย ทั้งนี้บางปัจจัยสามารถแก้ไขได้ แต่บางปัจจัยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น

 

  1. มะเร็งปากมดลูก

            เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง มีอาการบ่งชี้ คือ ตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวคล้ายหนอง เลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติโดยที่ไม่ใช่เลือดประจำเดือน มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือผู้ที่อยู่ในวัยทองมีเลือดออกหลังจากที่หมดประจำเดือนไปแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่พบอาการแสดงในระยะแรกที่เริ่มป่วย แต่จะมีอาการเมื่อเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว

              อาการของมะเร็งปากมดลูกสัญญาณของโรคมักจะเกิดขึ้นเมื่อมะเร็งเริ่มเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว โดยจะมีอาการ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติ มีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ (ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้) ตกขาวมีเลือดหรือหนองปน ช่องคลอดมีกลิ่นผิดปกติ ปวดในช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ และยังมีอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากมีการลึกลามของเซลล์มะเร็งไปยังเนื้อเยื้ออวัยวะอื่นๆ เช่น

              - ไม่อยากอาหาร

              - น้ำหนักลด

              - ปัสสาวะมีเลือดปน

              - ปวดกระดูกบริเวณต่างๆ

โดยหากพบอาการผิดปกติที่น่าสงสัยดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที

              สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก กว่า 99% มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus)ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระยะก่อนมะเร็งมดลูก (CIN) ภูมิคุ้มกันต่ำ การสูบบุหรี่ และการมีลูกหลายคน

              มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ที่สามารถป้องกันไวรัสนี้ได้บางสายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่าง HPV-16 และ HPV-18 ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ด้วยตนเอง ด้วยการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดต่อ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ไม่สูบบุหรี่ ดูแลสุขภาพร่างกาย ตรวจสุขภาพ และตรวจด้วยชุดคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะ และรีบไปพบแพทย์หากพบอาการแสดงของโรคที่น่าสงสัย เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก หรือเพื่อให้ทราบระยะของการป่วยแล้วเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนมะเร็งจะลุกลาม

 

  1. มะเร็งตับ

            ไม่ใช่แม้แต่ในกลุ่มเพศชาย เพศหญิงก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับสูงเช่นกัน มะเร็งตับเกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับก็ได้

              อาการของโรคมะเร็งตับมักไม่ชัดเจนและไม่แสดงอาการให้เห็น โดยระยะเริ่มต้นจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร เป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยอาจรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งตับได้เมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ แต่เมื่อเริ่มมีการแสดงอาการ มะเร็งจะเป็นในระยะแพร่กระจายหรือระยะที่มีความรุนแรงของโรคแล้ว (advanced stage) ซึ่งอาการที่แสดงนั้นได้แก่

              - ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบน ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ท้องบวมขึ้น

              - น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่รับประทานตามปกติ

              - เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร

              - รู้สึกอ่อนเพลีย

-  มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

              - คลำพบก้อนที่บริเวณตับ

              - ตัวเหลืองและตาเหลือง

              สาเหตุการเกิดมะเร็งที่ตับเกิดจากการที่ดีเอ็นเอในเซลล์ตับเกิดกลายพันธุ์จนทำให้โครงสร้างเซลล์เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เซลล์เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติและพัฒนาเป็นเนื้องอกในที่สุด สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ดังนี้

              - อัตราการพบมะเร็งตับในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง

              - ผู้ป่วยเป็นโรคชนิดอื่นที่สัมพันธ์หรือสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับ ได้แก่

                             - โรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ที่สร้างความเสียหายต่อตับอย่าง

                                ถาวรและทำให้ตับวายได้

                             - โรคตับแข็ง กว่าครึ่งของผู้ป่วยมะเร็งตับเป็นโรคตับแข็งร่วมด้วย

                             - โรคเบาหวาน

                             - มะเร็งตับอาจสัมพันธ์กับโรคอ้วน และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุราได้ด้วย

                             - โรคตับที่สืบทอดทางพันธุกรรมที่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่ ภาวะธาตุเหล็กในตับมากเกินไป ภาวะทองแดง

                                คั่งในร่างกาย

              - การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากเป็นเวลาติดต่อหลายวันจะก่อให้

                 เกิดอันตรายต่อตับอย่างต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง

              - การสูบบุหรี่ ผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบอยู่แล้วและมีพฤติกรรมสูบุหรี่จะยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งตับยิ่งขึ้น

              - การได้รับสารเคมีอันตรายจากยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิล คลอไรด์ (Vinyl Chloride) และสารหนู(Arsenic)

                ที่อาจพบได้จากบ่อน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เมื่อได้รับเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมจนเกิดโรคต่างๆ

                 ตามมามากมาย ไม่เว้นแม้แต่มะเร็งตับ

              - การใช้อนาโบลิคเสตียรอยด์ (Anabolic steroids) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่นักกีฬามักใช้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ หาก

                 ใช้เป็นเวลานานจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วย

โทรหาเราได้ที่

038-500-300

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

สมัครรับข่าวสาร

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์

185/1 หมู่ 1 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130

โทรศัพท์ : 038-500-300 แฟกซ์ : 038-500-390

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ