หน้าแรก / บอร์ดสุขภาพ

ไตรกลีเซอไรด์ (Trigleceride)

 
เป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการที่ไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ หรือร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันโดยตรง เช่น หมูสามชั้น น้ำมัน เนย หรือไขมันต่างๆ หากร่างกายได้รับมากเกินความจำเป็น สารอาหารดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และกลายเป็นพลังงานสำรองของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน บางส่วนถูกสะสมในตับ หากร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์สูง จะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคตับอ่อนอักเสบ โรคไขมันเกาะตับ และมะเร็งเต้านมได้
เมื่อไรที่เรียกว่า ไตรกลีเซอไรด์สูง? ไตรกลีเซอไรด์จะถูกขจัดออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่เรารับประทานอาหาร แต่หากตรวจเลือดหลังจากที่งดการรับประทานอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง แล้วพบว่ามีค่า ไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 200 mg/dL นั่นหมายถึง ร่างกายของคุณกำลังมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์ โดยไขมันไตรกลีเซอไรด์ระดับปกติจะอยู่ที่ 50-150 mg/dL
ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ต้องทำอย่างไร? เมื่อตรวจพบว่ามีไตรกลีเซอไรด์สูง สิ่งแรกที่ควรทำคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
- ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่รับประทานอาหารมากเกินไป
- เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดี มีโอเมก้า 3 อยู่มาก เช่น แซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน
- เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้งมาก อาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง - อาหารที่มีไม่ไขมันสูง
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่

โทรหาเราได้ที่

038-500-300

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

สมัครรับข่าวสาร

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์

185/1 หมู่ 1 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130

โทรศัพท์ : 038-500-300 แฟกซ์ : 038-500-390

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ