เมื่อไหร่จึงควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่
1.เมื่อมีคนในครอบครัวฝั่งเดียวกันเป็นมะเร็งลำไส้ ให้ทุกคนในตระกูลนั้นส่องกล้องเมื่ออายุ 45 ปี แต่ถ้ามีคนเป็นมะเร็งอายุน้อยกว่า 45 ปี ตนในตระกูลต้องส่องกล้องเร็วขึ้น 10 ปี
2.เมื่อตัวเองป่วยเป็นโรคตับแข็ง ,ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง,
โรคตับโต ให้ส่องกล้องเมื่อรู้ว่าเป็นโรคนั้น
3.เมื่อมีอาการเสี่ยงว่าจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น เบื่ออาหาร ผอมลงมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 3 เดือน ร่วมกับ ถ่ายอุจจาระเละๆและเป็นมูกปนเลือดคลุกเคล้ากัน หรือ เป็นผู้ชายอายุเกิน 45 ปีที่ท้องผูกเรื้อรังเกิน 6 เดือน หรือมีการเปลี่ยนรูปแบบการถ่าย และในรายที่ไม่ถ่ายหลายวันจนท้องโต หรือตรวจพบเลือดเก่าๆในอุจจาระ
4.คนที่ทำตัวเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่บ่อยๆ เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินเนื้อสัตว์ชนิดที่ปิ้งย่างให้ไหม้เกรียม กินแต่ไขมัน ไม่กินผัก บ่อยๆไม่ออกกำลังกาย ปล่อยให้อ้วน มีภาวะตึงเครียดเป็นประจำ ให้ส่องกล้องเมื่ออายุ 45 ปี
5.คนทั่วไปที่ไม่อยู่ในกลุ่ม 1-4 ให้ส่องกล้องได้เมื่ออายุเกิน 50 ปี ก่อนหน้านี้ ให้เกิน 60 ปี เพิ่งลดอายุลงใน1-2 ปีนี้
ในภาพรวม คนไทยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่เกิน 20 คนต่อประชากร 1 แสนคน
การเจาะเลือดดูค่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค เพราะคนที่มีค่าเลือดสูงไม่ใช่มะเร็งเสมอไป อาจเกิดจากกรรมพันธ์ หรือจากการสูบบุหรี่ แต่ใช้ติดตามผลในการรักษาได้ดี
ถ้าค่าสูงขึ้นหลังจากลดลงจากการรักษาแล้วแสดงว่า มะเร็งกลับเป็นใหม่
จากข้อมูลการส่องกล้อง คนที่มีปัจจัยเสี่ง มีโอกาสพบเป็นมะเร็งได้ 5% แต่ถ้าไม่มีอาการใดๆ แม้ตรวจพบเลือดเก่าๆในอุจจาระ ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่ามาก เคยมีการตรวจแบบนี้ในภาคใต้เกิน 100 คน ไม่พบใครเป็นมะเร็งเลย
ในการส่องกล้องโดยภาพรวม จะพบติ่งเนื้อธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง และถุงลมโป่ง ประมาณ 30%
อันตรายจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ในมาตรฐานร.พ.ที่ดีมาก โอกาสลำไส้ใหญ่ทะลุ 1 ใน 1 พันครั้งที่ส่อง เลือดออกจนไม่หยุด ต้องผ่าตัด น้อยกว่า 1 ใน 1 พันครั้ง ติดเชื้อจนลำไส้อักเสบน้อยกว่าทั้ง 2 อย่าง